Letter to Members of the Royal College of Ophthalmologists of Thailand

Updated 2013-06-10 15:47:07


ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันในธรรมนูญขององค์กร ที่ร่างร่วมกัน และเรื่องอื่นๆ โดยมีสาระสำคัญคือ
 
1. การให้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของ AOS secretariat office ซึ่งได้แก่สำนักงานของราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย 
 
2. ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการครั้งที่ 1 ของ AOS เพื่อเปิดตัวสมาคม อย่างเป็นทางการ ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557 
 
3. ให้ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย พิจารณาตั้งประธาน เลขา เหรัญญิก ของ Founding AOS Executive Council เพื่อดำเนินการประชุมวิชาการครั้งที่ 1 โดยมีตัวแทนของประเทศต่างๆที่มาในวันที่ 18 เป็นสมาชิกของ Council จนมีการประชุม Executive Council กันอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งจะเป็นการจัดร่วมกับการประชุมวิชาการครั้งที่ 33 ของราชวิทยาลัยฯ
 
รายละเอียดอื่นๆ ของข้อตกลง จะได้นำเรียนเสนอให้สมาชิกได้ทราบหลังจาก Founding AOS Executive Council ได้ตรวจสอบรายงานการประชุม และรับรองรายงานการประชุม เรียบร้อยแล้ว
 
ผมขอขอบคุณกรรมการ และที่ปรึกษาทุกท่าน ที่ช่วยกันแสดงความเห็นเกี่ยวกับการก่อตั้ง AOS ตั้งแต่การวางแผนยุทธศาสตร์ราชวิทยาลัยฯ จนมาเป็นรูปเป็นร่าง จริงจัง จากการประชุมคณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยฯ ในครั้งต่อๆมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรรมการบริหาร ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการประชุมนี้โดยตรง ได้แก่ เลขาธิการราชวิทยาลัยฯ ประธานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และประธานฝ่ายปฏิคม 
 
ท่านสมาชิกที่เคารพรักครับ  ASEAN ซึ่งหมายถึง การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 1967 และได้เติบโตจนมีประเทศสมาชิกครบ 10 ประเทศ เช่นปัจจุบัน เมื่อปี 1999 ผม และจักษุแพทย์ตัวแทนของประเทศสมาชิก ASEAN ที่มาร่วมกันก่อตั้ง AOS หวังเป็นอย่างยิ่งว่า AOS ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยเช่นเดียวกัน แม้จะเกิดหลังจาก ASEAN นับเป็นเวลาถึง 46 ปี จะเติบโต เป็นองค์กรจักษุแพทย์ระหว่างประเทศที่เจริญรุ่งเรือง ยังผลให้จักษุแพทย์ และผู้รับบริการด้านจักษุวิทยา ในประเทศสมาชิก ได้ประโยชน์จาก AOS โดยทั่วกัน
 
ด้วยความเคารพรัก
 
นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข
ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย