Calcium และ vitamin D

Updated 2015-09-07 11:38:00



ปัจจุบันภาวะพร่องหรือขาด vitamin D พบได้บ่อย ความชุกของภาวะขาด vitamin D ในประเทศไทยจากโครงการตรวจสุขภาพประชากรไทย พ.. 2551 พบว่ามีกว่า 10% สำหรับประชากรในกรุงเทพฯ สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศได้มีข้อแนะนำสำหรับภาวะขาด vitamin D ในคนไทยเมื่อ พ.. 2555 ดังนี้

1.        ระดับ 25(OH)D ที่บ่งว่ามีภาวะขาด vitamin D คือ น้อยกว่า 20 ng/mL

2.        ไม่แนะนำให้คัดกรองระดับ 25(OH)D ในประชาชนทั่วไป แต่อาจพิจารณาวัดระดับ 25(OH)D ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงบางกลุ่มเช่นผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

3.        ผู้ป่วย osteoporosis ควรมีระดับ 25(OH)D อย่างน้อย 30 ng/mL เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยารักษาโรคกระดูกพรุนสูงสุด

4.        เพี่อป้องกันการขาด vitamin D  ผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 70 ปีควรได้รับ vitamin D อย่างน้อย 600 unit ต่อวัน และผู้สูงอายุอย่างน้อย 800 unit ต่อวัน

5.        ผู้ที่มีความจำเป็นให้ระดับ 25(OH)D มากกว่า 30 ng/mL ควรได้รับ vitamin D อย่างน้อย 800 unit ต่อวัน

6.        แสงแดดเป็นแหล่งสำคัญของ vitamin D  แต่ประชาชนบางกลุ่มไม่สามารถได้รับแสงแดดเพียงพอ และอาจมีความจำเป็นต้องใช้ vitamin D เสริม

7.         vitamin D มี 2 ชนิดใหญ่ๆตามโครงสร้างทางเคมีคือวิตามิน D2 และ D3 ทั้ง วิตามิน D2 และ D3 เป็น inactive form การใช้ vitamin D เพื่อทดแทนหรือรักษาภาวะขาด vitamin D ต้องใช้ D2 หรือ D3 ไม่ใช้ชนิดที่ active หรือกึ่ง active เช่น calcitriol หรือ alfacalcidol เพราะเกิดผลข้างเคียงคือ hypercalcemia ได้ง่าย