ควันหลงวิชาการ + วิชาการน่ารู้

ควันหลงวิชาการ + วิชาการน่ารู้
แสดง 21 - 30 จาก 36 รายการ

ภาวะเลือดออกในเบ้าตา (Orbital hemorrhage)

Updated 2016-07-29 23:31:00 by คุณ System Administrator 2632 Views

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหลังการผ่าตัดเปลือกตา เพราสามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นได้อย่างถาวรจากความดันในเบ้าตาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดพยาธิสภาพต่างๆมากมายต่อเนื้อเยื่อภายในเบ้าตา (Orbital compartment syndrome) ถึงแม้อุบัติการณ์ในการสูญเสียการมองเห็นถาวรจากเลือดออกในเบ้าตาจะค่อนข้างน้อย (ประมาณ 1:10,000) แต่จักษุแพทย์ควรสามารถตรวจพบภาวะนี้ได้เนิ่นๆและจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค อาจแบ่งได้เป็นการรักษาแบบประคับประคองและการผ่าตัด


HSV VZV anterior uveitis

Updated 2016-07-29 23:03:00 by คุณ System Administrator 2398 Views

โรคเริมเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ "Herpes simplex" ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ  HSV-I เกิดแผลบริเวณริมฝีปาก และ HSV-II ทำให้เกิดโรคเริมบริเวณอวัยวะเพศ ลักษณะอาการจะมีผื่น กลุ่มของตุ่มน้ำใสรวมตัวกันอยู่บนผิวหนังประมาณ 1-2 วัน ต่อมาจะแตกออกและตกสะเก็ด ทั้งนี้เราไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเริมได้เด็ดขาด แต่เชื้อจะมีระยะพักตัวอยู่ในเส้นประสาท และก่อให้เกิดตุ่มใสขึ้นอีกได้เสมอๆ ซึ่งขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น ภูมิคุ้มกันลดลง ความเครียดทางกายหรือจิตใจ ช่วงประจำเดือน เป็นต้น


The future trend of contact lens for presbyopic correction

Updated 2016-07-26 19:48:00 by คุณ System Administrator 2154 Views

Multifocal CL มีข้อดี คือ สามารถมองภาพ 3 มิติ และ มองเห็นระยะกลาง (ระยะคอมพิวเตอร์, ประมาณ 80 ซม.) ได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการใส่เลนส์แบบ monovision (ตาข้างนึงสำหรับมองใกล้ และอีกข้างสำหรับมองไกล) ที่ใส่กันทั่วไป


การเลือกใช้น้ำตาเทียมโดยพิจารณาเรื่องสารกันเสีย

Updated 2016-03-10 20:20:00 by คุณ System Administrator 6694 Views

Preservative ในน้ำตาเทียมยังคงมีประโยชน์ในน้ำตาเทียมกลุ่ม multidose โดยการช่วยลด risk contamination, เพื่อเพิ่มความคงทนของยา (medication stability), บรรจุภัณฑ์ใช้ง่าย, ราคาถูกกว่า และในกลุ่ม mild preservative นี้สามารถลดปัญหาเรื่อง corneal toxicity ได้อีกด้วย


Investigations in anterior uveitis

Updated 2016-01-15 21:33:00 by คุณ System Administrator 5351 Views

การตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการในกรณี anterior uveitis เริ่มทำในกรณี second episode of nongranulomatous anterior uveitis with unrevealing history โดยแนะนำให้ส่ง Lab พื้นฐาน ได้แก่ CBC, ESR, VDRL, FTA-ABS, CXR, HLA-B27  

ส่วนการตรวจค้นเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการนอกจากนี้ ควรส่งในกรณี

1.          Recurrent uveitis ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป

2.          Granulomatous uveitis

3.          Posterior involvement

4.          Positive items on the review of systems


Optical Coherence Tomography (OCT) Angiography

Updated 2015-12-15 19:16:00 by คุณ System Administrator 5445 Views

Optical Coherence Tomography (OCT) Angiography

เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของ OCT ที่ใช้หลักการที่เรียกว่า Split Spectrum Amplitude-Decorrelation Angiography ทำให้สามารถแสดงผล blood flow ของ retinal imaging ได้โดยไม่ต้องฉีดสี



Is it possible to diagnose glaucoma without modern instrument?

Updated 2015-12-11 23:25:00 by คุณ System Administrator 5757 Views

เราสามารถวินิจฉัยต้อหินบางกลุ่มโดยใช้อาการแสดงทางคลินิกได้ ดังนี้

1.          การวัดความดันตา

2.          Gonioscpy

3.          การตรวจขั้วประสาทตาและเส้นประสาทตา จะสามารถตรวจได้ชัดเจนขึ้นเมื่อขยายม่านตาและใช้ไฟสีเขียว (red free light) ตั้งแต่ดู optic disc size, optic disc rim, nerve fiber layer, region of atrophy, disc hemorrhage, asymertry in size and color

4.          การตรวจลานสายตา


Abnormal eye movement

Updated 2015-12-08 19:13:00 by คุณ System Administrator 6209 Views

Nystagmus อาจจะตรวจพบในภาวะปกติ (physiologic nystagmus) จะมีลักษณะดังนี้

·        เกิดเฉพาะ extreme of horizontal gaze

·        มีการสั่นของตาไม่เกิน 4 ครั้ง

·        เป็น horizontal หรือ horizontal-torsional

·        amplitude น้อยและเหมือนๆกันเวลากลอกตาไปทางซ้ายหรือขวา



Corneal Dystrophies

Updated 2015-12-08 16:10:00 by คุณ System Administrator 6117 Views

Corneal Dystrophies (โรคกระจกตาเสื่อม)

เป็นกลุ่มโรคที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งมักก่อให้เกิดความผิดปกติที่กระจกตาทั้ง 2 ข้าง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน และความผิดปกตินี้อาจเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆตามระยะเวลาที่ผ่านไป

การรักษา ขึ้นกับอาการแสดงของผู้ป่วย และชั้นของกระจกตาที่มีรอยโรค โดยเริ่มตั้งแต่

·        การใช้ hypertonic agents (3% หรือ 5% NaCl) ในผู้ป่วยที่ตรวจพบกระจกตาบวม ร่วมกับมีอาการมองเห็นภาพไม่ชัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน และมักมองเห็นดีขึ้นเมื่อเวลาสายหรือบ่าย

·        น้ำตาเทียมเพื่อบรรเทาอาการเคือง ในกรณี recurrent corneal epithelial erosion อาจใช้ lubrication ในรูปแบบเข้มข้น เช่น gel หรือ ointment ป้ายตาก่อนนอนเพื่อป้องกันไม่ให้เปลือกตาติดกับผิวกระจกตาระหว่างหลับตาเป็นเวลานาน

·        การใช้ contact lens (CL) ในผู้ป่วยที่มี epithelial defect ขนาดใหญ่ ร่วมกับการให้ยาปฎิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ (2 ครั้งต่อวัน) นอกจากนี้ CL ยังนำมาใช้ใส่ ต่อเนื่องเพื่อป้องกันการสะสมของสาร amyloid ในผู้ป่วย Gelatinous drop-like dystrophy ได้อีกด้วย

·        การใช้แสงเลเซอร์ Phototherapeutic keratectomy (PTK) เพื่อกำจัดรอยโรคในผู้ป่วยที่มีรอยโรคอยู่ในชั้นตื้น (epithelium, subepithelium และ anterior stroma)

·         ท้ายสุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาที่พัฒนาให้มีความจำเพาะกับชั้นกระจกตามากขึ้น ได้แก่

ü Deep anterior lamellar keratoplasty (DALK) ในผู้ป่วยกลุ่ม Stromal corneal dystrophies

ü Endothelial keratoplasty (EK) ในผู้ป่วยกลุ่ม Endothelial dystrophies



Cataract in Fuchs’ dystrophy

Updated 2015-12-08 16:02:00 by คุณ System Administrator 5777 Views

โรค Fuchs’ corneal dystrophy เป็นโรคที่เกิดในตา 2 ข้าง มีการดำเนินโรคที่ช้า และอาจเป็นไม่เท่ากันในตาสองข้างได้ อายุที่เป็นอยู่ในช่วง 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย

ผลการศึกษา                                                                 

1.       การผ่าตัดต้อกระจกก่อนการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา เปรียบเทียบกับการผ่าตัดร่วม (combined หรือ triple surgery) พบว่าการผ่าตัดต้อกระจกก่อนแม้ทำในคนไข้ที่มีจำนวน endothelial cell ต่ำก็สามารถทำให้ระดับการมองเห็นดีขึ้นทุกราย และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่าการผ่าตัดร่วม

2.       การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาก่อนการผ่าตัดต้อกระจกเปรียบเทียบกับการผ่าตัดร่วม พบว่า ระดับการมองเห็น refractive outcome และ graft survival ไม่แตกต่างกัน แต่แนะนำให้ทำผ่าตัดร่วมในคนไข้ที่อายุมากเพื่อให้การฟื้นสภาพของการมองเห็นเร็วขึ้น