บัญชียานอกสวัสดิการข้าราชการและบัญชียาหลักแห่งชาติ

Updated 2004-12-22 00:00:00


 

บัญชียานอกสวัสดิการข้าราชการและบัญชียาหลักแห่งชาติ

 

                สิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการเป็นสิ่งตอบแทนการทำงานที่มีคุณค่ามากที่สุด สำหรับข้าราชการและข้าราชการเกษียณอายุ กระทรวงการคลังจึงต้องควบคุมการใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของข้าราชการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2546 มีค่าสูงกว่า 20,000 ล้านบาท โดยเป็นค่ายา ถึง 50%  และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี กระทรวงการคลังจึงมีแนวทางแก้ไขปัญหาโดย

1.      ยาสำหรับผู้ป่วยนอกให้ใช้วิธีเบิกจ่ายตามรายการ และ มีบัญชีรายการยา ราคายาเป็นตัวกำกับ

2.      ค่ายาผู้ป่วยใน เบิกตาม DRGs  จึงเกิดมีปัญหาสงสัยว่าบัญชีรายการยาสำหรับผู้ป่วยนอกที่เป็นข้าราชการนั้นแตกต่างกับบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างไร กระทรวงการคลังได้ชี้แจง ดังนี้

                        2.1) ยาที่มีในบัญชียาหลัก แต่ไม่ได้เป็นยาในบัญชีข้าราชการ คือเป็นยาในซึ่งจะเบิกตาม DRGs หรือเป็นเภสัชตำรับโรงพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่ราคาไม่แพง จึงไม่ได้กำหนดไว้

                        2.2) ยาที่มีในบัญชียานอกข้าราชการ แต่ไม่มีในบัญชียาหลัก เพราะยานอกของข้าราชการ                จะครอบคลุมยาที่ตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพทั้งหมด (Maximum list) ซึ่งแม้จะมีบัญชียา           มาก แต่ก็มีค่าเบิกจ่ายที่สมควร จึงจะไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่วนบัญชียาหลักแห่งชาติ             ปี 2547 เป็น Minimum list และยาที่เข้าบัญชีจะเป็นยาที่มีราคาต่ำที่สุด ดังนั้นแต่ละกลุ่มยาจึงมี              ยา            เพียง 1-2 รายการ เท่านั้นที่จะถูกนำมาบรรจุในบัญชียาหลัก

                        ตัวอย่างเช่น ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ ยาหยอดตากลุ่ม     Fluoroquinolone, ยาที่ร่วมรักษาโรค  จอประสาทตาเสื่อม         (Verteporfin ใน Photodynamic theropy) ซึ่งถ้ามีปัญหาไม่มียารักษา               การมองเห็นจะลดลงหรือเกิดความพิการ       อาจมีภาระและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมาอีกมาก

3.      เกณฑ์การคัดเลือกยาไม่อยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน

                        เช่น ยาสำหรับต้อหินกลุ่ม Prostaglandin analogue ในบัญชียาหลักแห่งชาติมีเพียงตัว                เดียวคือ Latanoprost เพราะผ่าน อย. เพียง 1 ตัว แต่บัญชียานอกสวัสดิการข้าราชการมี 3 ตัว คือ    Bimatoprost, Travaprost และ Latanoprost เพื่อลดการผูกขาด เช่น สินค้าขาดตลาด  ราคาแพง

4.     ยาที่มีทั้งในบัญชียานอกข้าราชการและบัญชียาหลัก จะมีความแตกต่างกันในเรื่องรายละเอียด        เงื่อนไขของการใช้ เพื่อป้องกันการดื้อยา หรือสิ้นเปลืองงบประมาณ เงื่อนไขที่กำหนดบัญชียา       นอกสวัสดิการข้าราชการมองว่าเป็นความจำเป็นต้องปฏิบัติตามจึงมีกลไกการติดตาม แต่บัญชียา      หลักมองว่าเป็นแนวทางการปฏิบัติ เท่านั้น

 

 

 

 

 

สรุป

            การปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลด้านยา เป็นแนวทางหนึ่งในการปรับปรุงระบบที่เป็นอยู่ให้เป็นระบบที่มีคุณภาพ การให้บริการในขณะที่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ปัจจุบันระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลถูกตำหนิว่าเป็นระบบที่ใช้เงินมากที่สุด แต่สิ่งที่เป็นคำถามซึ่งตอบไม่ได้คือ ระบบอื่นๆ ที่ใช้เงินน้อยกว่าให้บริการที่มีคุณภาพเพียงพอหรือไม่ และข้าราชการและผู้มีสิทธิพร้อมแล้วหรือไม่ที่จะไปรวมกับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

                ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และระบบประกันสังคมใช้วิธีการเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งผู้ให้ประกันจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาลในจำนวนที่แน่นอนเพื่อให้ทำการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ลงทะเบียนไว้ วิธีการจ่ายเงินแบบนี้เป็นการผลักภาระทางการเงินไปให้กับผู้ให้บริการ ซึ่งก่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะให้บริการราคาถูก หรือให้บริการที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อไม่ให้เกิดสภาวะขาดทุน ดังนั้นระบบลักษณะนี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการวางมาตรฐานการให้บริการ และการติดตามตรวจสอบคุณภาพการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

                ความพยายามของกระทรวงการคลัง ในการจัดทำบัญชีรายการยาผู้ป่วยนอก และเตรียมกลไกการติดตามการใช้ยา ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อม และสร้างเครื่องมือให้เพื่อใช้กับระบบสวัสดิการรักษา พยาบาลข้าราชการในปัจจุบัน และหากในอนาคตจะมีการรวมตัวกันของระบบประกันสุขภาพจะได้เกิดความเชื่อมั่นว่าพี่น้องข้าราชการและผู้มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ที่มีหลักประกันด้านคุณภาพอย่างแท้จริง เครื่องมือนี้เป็นผลงานชิ้นสำคัญของกระทรวงการคลัง

 

แพทย์หญิงวัฒนีย์  เย็นจิตร