การลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก: การรายงานผลสรุปงานวิจัย

Updated 2023-09-06 09:21:00



การลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก: การรายงานผลสรุปงานวิจัย

Clinical Trial Registration: Report of ‘Summary Results’


.พญ.วสี ตุลวรรธนะ1,3

.นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต1,3

รศ.ดร.บัณฑิต ถิ่นคำรพ2,3

.นพ.ปิยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์3 

1ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2ภาควิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3ระบบทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกของประเทศไทย มูลนิธิส่งเสริมวิจัยทางการแพทย์

 

บทนำ

            การลงทะเบียนงานวิจัยทางคลินิกนั้น เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักวิจัยทางคลินิกว่า ได้มีการประกาศจาก International Committee of Medical Journal Editors (ICMJE) เมื่อปี .. 25471 ให้งานวิจัยที่เข้าข่ายว่าเป็นงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก2 ลงทะเบียนโครงการวิจัยก่อนที่จะรับอาสาสมัครรายแรกเข้าโครงการ โดยนักวิจัยสามารถลงทะเบียนกับแหล่งทะเบียนที่เป็นที่ยอมรับขององค์การอนามัยโลกและ ICMJE3 ตามหัวข้อในชุดข้อมูลที่กำหนด4 เมื่อแหล่งทะเบียนตรวจสอบข้อมูลแล้วจะออกเลขทะเบียนประจำโครงการ (Trial registration number) ให้แก่โครงการวิจัยนั้นพร้อมกับเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยโครงการวิจัยที่ได้รับเลขทะเบียนแล้ว จะถูกสืบค้นได้จากฐานข้อมูลของแหล่งทะเบียนที่โครงการนั้นลงทะเบียนหรือจากฐานข้อมูล International Clinical Trials Registry Platform (ICTRP) search portal5 ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักวิจัยโดยตรงที่จะต้องลงทะเบียนโครงการวิจัยในเวลาที่เหมาะสม รักษาความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของข้อมูลที่ลงทะเบียน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกภาคส่วน

ประโยชน์ของการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก

            1. มุมมองของสังคม สร้างความโปร่งใสของงานวิจัย มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันของงานวิจัยทั้งในขั้นตอนและกระบวนการต่าง ที่เกี่ยวข้อง

            2. มุมมองของผู้กำหนดนโยบาย ลดความซ้ำซ้อนของงานวิจัยและการให้ทุน

            3. มุมมองของนักวิจัย เพิ่มความโปร่งใสของงานวิจัย เพิ่มโอกาสการได้รับอาสาสมัคร และอาจเพิ่มโอกาสการได้รับการพิจารณาจากแหล่งทุน จากวารสาร และโอกาสการสร้างเครือข่าย

            4. มุมมองของอาสาสมัครและผู้ป่วย เพิ่มโอกาสการเข้าถึงงานวิจัย รวมทั้งโอกาสในการเข้าถึงยาวิจัยในโรคที่รักษายากบางอย่าง ในกรณีที่ยาวิจัยนั้นยังไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด

งานวิจัยใดบ้างที่จัดเป็นงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก

            ผู้เขียนขอคัดคำนิยามงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกขององค์การอนามัยโลก2 มาดังนี้

            “For the purposes of registration, a clinical trial is any research study that prospectively assigns human participants or groups of humans to one or more health-related interventions to evaluate the effects on health outcomes. Clinical trials may also be referred to as interventional trials. Interventions include but are not restricted to drugs, cells and other biological products, surgical procedures, radiologic procedures, devices, behavioural treatments, process-of-care changes, preventive care, etc. This definition includes Phase I to Phase IV trials.”

          คำนิยามนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน กล่าวคือ

            1. Human participants or groups of humans หมายถึงงานวิจัยที่ศึกษาในคนตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป และไม่ได้หมายรวมถึงงานวิจัยที่ศึกษาในเชื้อโรค งานวิจัยในสัตว์ทดลอง งานวิจัยในศพ งานวิจัยในเอกสารที่ได้ตีพิมพ์มาก่อน เช่น systematic review เป็นต้น

            2. Prospectively assign health-related intervention (s) หมายถึง โครงการวิจัยกำหนดวิธีการทดลอง (intervention) ให้แก่อาสาสมัคร ไม่ใช่เป็นการสังเกตอาสาสมัครซึ่งได้รับ intervention อยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้วิธีการทดลอง (intervention) มีความหมายที่กว้างมาก อาจเป็นการให้ยา สารเคมี เซลล์บำบัด การฉายรังสี การผ่าตัด การปรับพฤติกรรม การปรับอาหาร วิธีการป้องกันโรค หรืออื่น

            3. Evaluate the effects on health outcomes หมายถึง โครงการวิจัยมีการวัดผลลัพธ์หรือผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากวิธีการทดลองในข้อ 2 จากอาสาสมัครในข้อ 1

            จะเห็นได้ว่าโครงการวิจัยบางโครงการอาจมีความก้ำกึ่งว่าเป็นงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกตามคำนิยามนี้หรือไม่ ผู้เขียนขอแนะนำว่าหากมีข้อสงสัย ให้นักวิจัยลงทะเบียนโครงการวิจัยนั้นไว้ก่อนเพื่อความโปร่งใสและเพื่อให้ข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยเองและภาคส่วนอื่น ในอนาคต โดยแหล่งทะเบียนส่วนใหญ่รับลงทะเบียนงานวิจัยทางคลินิกทั้งประเภทงานวิจัยแบบทดลองและงานวิจัยแบบสังเกตอยู่แล้ว

นักวิจัยสามารถลงทะเบียนโครงการวิจัยได้ที่ใดบ้าง

            ลงทะเบียนได้ที่แหล่งทะเบียนที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกและ ICMJE3 ได้แก่ clinicaltrials.gov และ แหล่งทะเบียนปฐมภูมิขององค์การอนามัยโลกรวมทั้ง Thai Clinical Trials Registry (TCTR)6 (www.clinicaltrials.in.th หรือ www.thaiclinicaltrials.org) ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม .. 2560 เป็นต้นมา หากนักวิจัยชาวไทยซึ่งทำวิจัยในประเทศไทยยื่นโครงการวิจัยไปยังแหล่งทะเบียน clinicaltrials.gov ก็จะได้รับคำแนะนำให้กลับมาลงทะเบียนที่แหล่งทะเบียนของประเทศไทย (TCTR) แทนการลงทะเบียนที่ clinicaltrials.gov

            อนึ่ง เลขทะเบียนประจำโครงการจะมีรหัสที่แตกต่างกันไปตามแหล่งทะเบียน เช่น เลขทะเบียนของ clinicaltrials.gov จะนำหน้าด้วยอักษร NCT ส่วนเลขทะเบียนของ TCTR จะนำหน้าด้วยอักษร TCTR เป็นต้น หากโครงการวิจัยได้รับเลขทะเบียนประจำโครงการจากแหล่งทะเบียนที่ได้มาตรฐานที่ใดที่หนึ่งแล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนซ้ำที่แหล่งอื่นอีก ยกเว้นจะมีข้อกำหนดตามกฎหมายของประเทศนั้น หรือ ข้อกำหนดของแหล่งทุนหรือของผู้สนับสนุนโครงการวิจัยว่าให้ลงทะเบียนที่แหล่งใดเพิ่มเติม

ชุดข้อมูลมาตรฐาน (data set) ที่ต้องลงทะเบียนในแหล่งทะเบียน มีหัวข้ออะไรบ้าง

            ชุดข้อมูลมาตรฐานตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกและ ICMJE ในระยะเริ่มต้นมี 20 หัวข้อ ต่อมาในปี .. 2561 ได้มีการกำหนดเพิ่มเป็น 24 หัวข้อ ซึ่งนักวิจัยสามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของแหล่งทะเบียนต่าง หรือเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก4 โดยแหล่งทะเบียนแต่ละแหล่งยังสามารถกำหนดหัวข้ออื่นเพิ่มเติมได้ตามข้อบังคับหรือกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งหัวข้อใหม่ที่กำหนดเพิ่มเติมโดยองค์การอนามัยโลกเมื่อ .. 2561 นั้น มีบางหัวข้อที่นักวิจัยอาจไม่คุ้นเคยนัก ได้แก่ ผลสรุปงานวิจัย (Summary results) และ แผนการแบ่งปันข้อมูล (Data sharing plan) ซึ่งผู้เขียนได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการแบ่งปันข้อมูลในการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก7 ไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน .. 2564 ส่วนหัวข้อเรื่องผลสรุปงานวิจัยนั้น จะขอกล่าวโดยสังเขปไว้ดังนี้

ผลสรุปงานวิจัย (Summary results)

            งานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกในโลกนี้อาจจะไม่ได้ถูกลงทะเบียนมากเท่าที่ควร หากไม่มีความร่วมมือและผลักดันจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แหล่งทุน องค์กรพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน วารสารทางการแพทย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ ICMJE ได้ประกาศเรื่องการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกจาก ICMJE เมื่อ .. 2547 ก็พบว่ามีความตื่นตัวเพิ่มขึ้นมากในการลงทะเบียนโครงการวิจัย แต่จากการศึกษาของ clinicaltrials.gov ซึ่งเป็นแหล่งทะเบียนงานวิจัยขนาดใหญ่ของโลก พบว่างานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกที่ได้รับทุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) และได้ลงทะเบียนที่ clinicaltrials.gov ไปแล้วนั้น ได้มีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยเพียง 46% เท่านั้นหลังจากที่งานวิจัยเสร็จสิ้นไปแล้ว 30 เดือน และเมื่อติดตามต่อไปจนถึง 51 เดือน ก็พบว่ายังมีงานวิจัยอีกหนึ่งในสามที่ยังไม่ตีพิมพ์8 แสดงว่าภายในสองปีครึ่งหลังงานวิจัยสิ้นสุด ยังมีงานวิจัยจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งที่สาธารณะไม่อาจรับรู้ผลของงานวิจัยได้ ทำให้โครงการวิจัยแบบทดลองทางคลินิกส่วนหนึ่งยังคงไม่มีความโปร่งใสอย่างแท้จริง

            ภายหลังการประชุมจากหลายภาคส่วนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ ก็ได้มีประกาศขององค์การอนามัยโลกเรื่องการเปิดเผยข้อมูลผลงานวิจัยสู่สาธารณะ9 เมื่อปี .. 2558 โดยมีใจความสำคัญเกี่ยวกับการเปิดเผยผลงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกว่าจะต้องเป็นไปตามช่วงเวลาที่กำหนดทั้งสองข้อ กล่าวคือ
           
1. การค้นพบหลัก (Main findings) ของงานวิจัย จะต้องถูกส่งให้วารสารพิจารณาเพื่ิอการตีพิมพ์ภายใน 12 เดือนหลังงานวิจัยเสร็จสิ้นและจะต้องตีพิมพ์ในลักษณะ Open access เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถทำได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จะต้องเปิดเผยผลงานวิจัยให้สาธารณะรับทราบภายใน 24 เดือนหลังงานวิจัยเสร็จสิ้น โดยในกรณีการลงตีพิมพ์ในวารสาร จะต้องระบุข้อมูลเลขทะเบียนประจำโครงการไว้ในผลงานตีพิมพ์ด้วย
           
2. นอกจากนี้ ผลลัพธ์หลัก (Key outcomes) ของงานวิจัยจะต้องได้รับการเปิดเผยให้สาธารณะรับทราบภายใน 12 เดือนหลังงานวิจัยเสร็จสิ้น ด้วยการลงข้อมูลในส่วนของผลสรุปงานวิจัย (Summary results) ในแหล่งทะเบียนที่โครงการนั้นได้ลงทะเบียนไว้แต่แรก

            ทั้งนี้ ICMJE ได้ประกาศว่า ในกรณีที่นักวิจัยได้มาลงข้อมูลผลสรุปงานวิจัยด้วยความยาวไม่เกิน 500 คำในแหล่งทะเบียนแล้วนั้น วารสารในเครือ ICMJE จะไม่นับว่าเป็นงานตีพิมพ์ก่อนหน้า (Prior publication)10 เพื่อลดความกังวลของนักวิจัยเรื่องการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนและเอื้อให้วารสารสามารถพิจารณาตีพิมพ์งานวิจัยนั้นตามระบบปกติได้

แนวทางระดับนานาชาติเรื่องการรายงานผลสรุปงานวิจัยไว้ในแหล่งทะเบียน

            ในช่วงกลางปี .. 2565 ที่ผ่านมานี้ ได้มีการเคลื่อนไหวจากองค์การอนามัยโลกในการจัดทำแนวทางระดับนานาชาติเรื่องการรายงานผลสรุปงานวิจัยไว้ในแหล่งทะเบียน ซึ่งจะกำหนดให้มีรายละเอียดของการลงข้อมูลผลงานวิจัยในหัวข้อย่อยต่าง ให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น เช่น จำนวนอาสาสมัครในแต่ละขั้นตอนของงานวิจัย ข้อมูลพื้นฐานของอาสาสมัคร ผลลัพธ์การวิจัยแยกตามรายการ การวิเคราะห์ทางสถิติ การรายงานผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์ เป็นต้น เพื่อให้ข้อมูลมีความเชื่อถือได้และมีประโยชน์ยิ่งต่อสาธารณะ โดยคาดว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในรายละเอียดของแนวทางระดับนานาชาตินี้จากองค์การอนามัยโลกในไม่ช้า

สรุป

            การลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกและการรายงานข้อมูลผลสรุปงานวิจัยเมื่อทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว เป็นหน้าที่โดยตรงของนักวิจัยเพื่อธำรงไว้ซึ่งความโปร่งใสในงานวิจัยนั้น และผู้เขียนคาดการณ์ว่าในอนาคต การรับลงตีพิมพ์ของวารสาร การขอพิจารณาทุนหรือจริยธรรมการวิจัยในโครงการต่อเนื่อง จากองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ด้านความโปร่งใสของงานวิจัย อาจถูกนำมาเชื่อมต่อกับข้อมูลผลสรุปงานวิจัยนี้ นักวิจัยชาวไทยจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิกและการรายงานผลสรุปงานวิจัย เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานสากลได้ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1.      De Angelis C, Drazen JM, Frizelle FA, Haug C, Hoey J, Horton R, et al; International Committee of Medical Journal Editors. Clinical trial registration: a statement from the International Committee of Medical Journal Editors. N Engl J Med 2004;351:1250-1.

2.      What is a clinical trial? [Internet]. World Health Organization; c2022 [cited 2022 September 25]. Available from: https://www.who.int/clinical-trials-registry-platform

3.      Which trials registries are acceptable to the ICMJE? [Internet]. International Committee of Medical Journal Editors; c2022 [cited 2022 September 25]. Available from: https://www.icmje.org/about-icmje/faqs/clinical-trials-registration/

4.      WHO Trial Registration Data Set [Internet]. World Health Organization; c2022 [cited 2022 September 25]. Available from: https://www.who.int/clinical-trials-registry-platform/network/who-data-set

5.      International Clinical Trials Registry Platform Search Portal [Internet]. World Health Organization; c2022 [cited 2022 September 25]. https://trialsearch.who.int/Default.aspx

6.      Tulvatana W, Kulvichit K, Thinkhamrop B, Tatsanavivat P. Thai Clinical Trials Registry. J Evid Based Med 2011;4:182-4.

7.      Tulvatana W, Kulvichit K, Thinkhamrop B, Tatsanavivat P. Data sharing in clinical trial registration (การแบ่งปันข้อมูลในการลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก). In: Suankratai C, et al, eds. Revolutions in Global Health. Bangkok: Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. 2021:1453-7.

8.      Ross JS, Tse T, Zarin DA, Xu H, Zhou L, Krumholz HM. Publication of NIH funded trials registered in ClinicalTrials.gov: cross sectional analysis. BMJ 2012;344:d7292.

9.      WHO Statement on public disclosure of clinical trial results 2015 [Internet]. World Health Organization; c2022 [cited 2022 September 25]. Available from: https://www.who.int/news/item/09-04-2015-japan-primary-registries-network

10.   Clinical Trials: Registration. In: Recommendations: Publishing and Editorial Issues Related to Publication in Medical Journals [Internet]. International Committee of Medical Journal Editors; c2022 [cited 2022 September 25]. Available from: https://www.icmje.org/recommendations/browse/publishing-and-editorial-issues/clinical-trial-registration.html

 

บทความนี้เป็น Creative Commons (CC-BY-NC-ND 2.0)