Reasons Why Joining APVRS

Updated 2016-12-13 10:22:00


APVRS2016 Banner 1280X384

ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นของวิชาการด้านโรคจอตา ที่ก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และไม่จำเป็นที่คุณจะต้องเป็นหมอด้านโรคจอตาเท่านั้น ถึงจะมาฟังความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆทางด้านนี้ ขอเรียนเชิญจักษุแพทย์ร่วมประชุม The 10th APVRS Congress in Conjunction with the 38th Annual Meeting of RCOPT เพื่อให้รู้ว่าการวินิจฉัยและรักษาใหม่ๆของโรคจอตามีอะไรบ้าง มีทิศทางในอนาคตอย่างไร เพื่อคุณจะได้แนะนำ และส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

hs000

hs11

hot

การผ่าตัดน้ำวุ้นตากำลังจะก้าวสู่ยุคที่แพทย์ผู้ผ่าตัด ไม่ต้องก้มหน้ามองกล้อง แต่เชิดหน้าดูภาพ 3 มิติบนจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่ 3D Head-Up Vitrectomy แล้วหรือ? กรุณาติดตาม

nvx occultes

เชื่อว่าจักษุแพทย์ทุกท่านในปัจจุบันรู้จักเครื่อง optical coherence tomography หรือ OCT ซึ่งใช้เลเซอร์เข้าไปสแกนจุดภาพชัด ทำให้เห็นความหนาของจุดภาพชัดได้โดยเป็น non-invasive procedure ก้าวกระโดดสำคัญของเครื่อง OCT ในช่วงสองปีมานี้ คือการมีเครื่อง OCT-angiography ซึ่งสามารถตรวจจับการเคลื่อนที่ของเม็ดเลือด ทำให้สามารถทำ angiography โดยไม่ต้องฉีดสี ท่านจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่นี้ในงานนี้

การรักษาโรค neovascular AMD ทุกวันนี้ เราใช้ยาประเภท anti-VEGF ฉีดเข้าน้ำวุ้นตาเป็นมาตรฐาน แต่การรักษา dry AMD เช่น geographic atrophy ซึ่งปัจจุบันยังไม่มียารักษา กำลังถูกค้นคว้าอย่างจริงจัง จนใกล้ที่เรากำลังจะมียาที่รักษาโรคนี้ได้แล้วหรือ?


hs22

lis1lis2

การรักษา PDR ด้วยเลเซอร์ PRP กำลังถูกท้าทายจากการฉีดยา anti-VEGF เข้าน้ำวุ้นตา การฉีดยานี้ กำลังจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการรักษา PDR แล้วหรือ?

ผู้ป่วยจำนวนมากสูญเสีย contrast sensitivity จากการมี vitreous floaters มีหลายรายงานแสดงให้เห็นว่าการทำ pars plana vitrectomy ด้วยเทคนิกพิเศษสามารถแก้ไขได้ จริงหรือ?


hs33

frist

ฟังการรายงานผลครั้งแรกของโครงการวิจัยสำคัญ 2 โครงการ ที่เกี่ยวข้องกับโรค polypoidal choroidal vasculopathy ซึ่งเป็นโรคจอตาที่ทำให้ตาบอดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกหลายประเทศ ทั้งสองโครงการเป็น randomized controlled trials ที่ระยะเวลาหนึ่งปี เปรียบเทียบผลการรักษาด้วยยา anti-VEGF 2 ชนิดกับการรักษาเสริมด้วย PDT มาฟังกันว่าการรักษาชนิดไหน เหมาะสมกว่ากัน


hs44

All About

สำหรับท่านที่สนใจ ocular tumors มางานนี้งานเดียวได้ posterior segment tumors ครบหมด โดยการนำของ Profs. Jerry and Carol Shields ปรมาจารย์ด้าน tumor ของโลกและทีม ที่จะมานำเสนอการประชุมวิชาการถึง 5 sessions ในการประชุมครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น symposia on retinal tumors, choroidal tumors, instruction courses on serious eye cancers masquerading as benign conditions, another instruction course on retinal tumors: alphabet soup, and 10 more mysterious ocular oncology cases! น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง


hs55

The New

The End of Blindness เป็นข้อความใหญ่บนปกของ National Geographic ฉบับเดือนกันยายนที่ผ่านมา เรื่องจากปกนี้ คือเรื่องของเทคโนโลยีการรักษาที่สามารถพลิกให้คนตาบอดสามารถกลับมามองเห็นได้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของการฝัง chip ใต้จอตาซึ่งผ่านการรับรองจาก FDA สหรัฐอเมริกา หรือการใช้ stem cell รักษาโรคจอตาที่เดิมไม่เคยรักษาได้ มาฟังเรื่อง vision restoration ใน session The New Frontiers ที่ประกอบด้วยวิทยากรที่มีประสบการณ์ด้านนี้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก

hs66

Retinal Papers

ปัจจุบันเป็นยุคที่การทำวิจัยโรคจอตาเจริญเติบโตรุดหน้าอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยมีมา ปีหน้าเราจะมีวารสารวิชาการฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์เฉพาะงานวิจัยโรคจอตาทั้งฉบับอีกถึง 2 ฉบับ ได้แก่ Ophthalmology Retina ของ AAO และ Journal of Vitreous and Retina Diseases ของ ASRS มาฟังมุมมองเกี่ยวกับงานวิจัยโรคจอตาในปัจจุบัน ตลอดจนแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากบรรณธิการของวารสารระดับหัวแถว เช่น JAMA Ophthalmology และ Retina ที่คร่ำหวอดในแวดวงวารสารวิชาการมามากกว่า 30 ปี


hs77

Update Your

ไม่เพียงแต่โรคที่พบบ่อยๆของจอตาเท่านั้น การวินิจฉัยและรักษาโรคในกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะ เช่น  pediatric retina หรือ uveitis ก็เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าขึ้นอย่างไม่ยิ่งหย่อนกว่าโรคอื่นๆ ฟังการใช้ new imaging ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ตลอดจนแนวทางการวินิจฉัยและรักษาด้วยยา immunosuppressive ใหม่ๆ


hs88

For General

การประชุมครั้งนี้ไม่ได้มีแต่เพียงหัวข้อเกี่ยวกับโรคจอตา เรายังมีหัวข้อน่าสนใจของโรคจอตาที่จักษุแพทย์ทั่วไปควรได้รู้ หรือได้ทบทวนความรู้ เช่น การอ่านภาพ OCT เบื้องต้น การรักษาเบื้องต้นของภาวะเร่งด่วนของโรคจอตา เช่น endophthalmitis ภาวะแทรกซ้อนของจอตาที่เกิดจากการให้ยาทาง systemic นอกจากนี้ จักษุแพทย์ทั่วไปยังสามารถฟังความรู้วิชาการอื่นๆได้จากหัวข้อที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์จัดโดยตรง เช่น neuro-ophthalmology, glaucoma, pediatric ophthalmology จากวิทยากรคนไทย ด้วยคุณภาพมาตรฐาน เช่นเดียวกับประชุมวิชาการที่ผานมาทุกครั้ง


hs99

By the

ด้วยจำนวนวิทยากรรับเชิญจากทั่วโลกมากกว่า 100 ท่าน หัวข้อวิชาการที่ทันสมัย น่าสนใจ มากกว่า 150 หัวข้อ จำนวน free paper, video และโปสเตอร์ที่ submit มาจากทั่วโลกมากกว่า 300 เรื่อง และจำนวนผู้ลงทะเบียนจากต่างประเทศซึ่งมีมามากวว่า 700 ท่านแล้วในขณะนี้ ขอเรียนเชิญจักษุแพทย์ไทยมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งการประชุมวิชาการครั้งนี้ โดยเปรียบเสมือนท่านเป็นเจ้าบ้านคนไทยผู้ต้อนรับแขกจากต่างประเทศ โดยพร้อมเพรียงกัน


advanยังไม่ช้าเกินไปที่คุณจะลงทะเบียนเข้าประชุมด้วยอัตราพิเศษสำหรับคนไทย โดยยังสามารถติดต่อขอรับทุนสนับสนุนการลงทะเบียนเข้าประชุมได้ที่ สำนักงานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย admin@rcopt.org โทร 027180715-6 หรือท่านสามารถลงทะเบียนประชุมได้โดยตรงที่ http://2016.apvrs.org/registration/

ท่านที่เป็นข้าราชการสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและไม่ถือเป็นวันลา


and

ท่านที่ลงทะเบียนแล้ว กรุณาอย่าลืมมารับ badge ล่วงหน้า เพื่อเข้าร่วมประชุม การประชุมวิชาการนานาชาติ จะมีการเคร่งครัดตรวจ badge สำหรับเข้าร่วมประชุมเป็นพิเศษ โดยรายละเอียดการรับ badge จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง


see