Vertical Program

Updated 2016-08-17 22:52:00


ยกตัวอย่างค่า DRG รพ.ศ.แห่งหนึ่ง  ค่า DRG ต่อ adjRW ในปีพ.ศ. 2556, 2557, 2558, 2559 เท่ากับ 7700, 7700, 7830, 7580 บาทตามลำดับ  การผ่าตัดต้อกระจกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะมีค่า DRG เท่ากับ 1.3469 ดังนั้นในแต่ละปีรพ.จะเรียกเก็บเงินได้เท่ากับ 10371,10371,10546,10209 บาทตามลำดับ ซึ่งการเรียกเก็บตาม vertical program ได้เท่ากับ 7000 บาท   การผ่าตัดต้อกระจกที่มีภาวะแทรกซ้อนจะมีค่า DRG เท่ากับ 1.4647 ดังนั้นในแต่ละปีรพ.จะเรียกเก็บเงินได้เท่ากับ 11278,11278,11468, 11102  บาทตามลำดับ ซึ่งการเรียกเก็บตาม vertical program ได้เท่ากับ 9000 บาท

แต่การจ่ายเงินตาม DRG ได้รวมเงินเดือนของบุคลากรเอาไว้ด้วยแล้ว  หากรพ.ใดมีบุคลากรมากเมื่อหักเงินเดือนแล้วค่า DRG จะลดลง  เช่นในปี 2559 รพ.ศูนย์แห่งนี้เมื่อหักเงินเดือนประมาณร้อยละ 40  จะได้ DRG เท่ากับ  6125 และ 6661 บาทสำหรับต้อกระจกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนและกระจกที่มีภาวะแทรกซ้อนตามลำดับ 

มีปัจจัยต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมายทำให้มีหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมการผ่าตัดต้อกระจกตาม vertical program โดยคำนึงถึงปริมาณรายรับที่ได้ต่อการออกผ่าตัดครั้งหนึ่งๆ  จึงมีการผ่าตัดที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ข้อบ่งชี้เช่น  การนำผู้ป่วยที่มิใช่ต้อกระจกมารับการผ่าตัดเช่น ผู้ป่วยสายตามัวที่ควรได้รับการแก้ไขด้วยแว่นสายตา  ผู้ป่วยต้อหิน โรคจอประสาทตา ตาแห้ง ในขณะเดียวกันต้อกระจกชนิดบอดซึ่งผ่าตัดยากกว่ายังคงถูกละเลยเป็นปัญหาตกค้างต่อไป รวมถึงปัญหาที่ทิ้งภาระผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดแล้วไว้ให้กับจักษุแพทย์ในพื้นที่ดูแลต่อโดยอ้างว่ารักษาเฉพาะต้อกระจกและลอยแพผู้ป่วยและปฏิเสธการดูแลผู้ป่วยที่ยังไม่จบปัญหาเช่น การเกิดภาวะถุงเลนส์ขุ่น แม้ว่าแต่ละปีจะมีการใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากและมากขึ้นทุกๆปีแต่จำนวนตาบอดในประเทศมิได้ลดลง จึงน่าจะถึงเวลาที่จะฝากความหวังไว้กับจักษุแพทย์รุ่นใหม่ไฟแรงได้ตระหนักถึงปัญหานี้ เพื่อให้ประชากรไทยมีอัตราตาบอดจากต้อกระจกลดลงโดยมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

..สุมิตรา ตระการศิลป์

กลุ่มงานจักษุวิทยา รพ.นครพิงค์ .แม่ริม .เชียงใหม่